วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

.................มนุษย์ส่วนใหญ่ชอบเพ่งโทษบุคคลอื่นๆ ลงความเห็นเปรียบเทียบ ว่าเขาเป็นอย่างนั้น อย่างนี้  เอาความชอบใจหรือความต้องการของตัวเองเป็นหลัก โดยที่ไม่ได้รู้เลยว่าตัวเองนั่นแหล่ะที่กำลังหลงอยู่  ถึงแม้นจะเป็นผู้ปฏิบัติธรรมก็ตาม สายไหนก็ตาม เมื่อสติ เมื่อปัญญา มันติด มันหลง มันก็วนอยู่ตรงนั้นแหล่ะไปไหนไม่ได้  ไม่ว่าใครจะทัดทานอย่างไรหรือชี้ทางบอกว่า มันติด มันหลงอยู่นะ ก็ไม่สนใจ ไม่เชื่อ  เพราะอิทธิพลแรงดึงดูดของกิเลส อวิชชา  มันมีมากกว่า  ความทะยานอยากแห่งตัวตนมันมีสูงกว่า......( ภวตัณหา )........ จะเป็นใครก็ช่าง  ถ้าปัญญามันเจริญไม่ได้  เข้าสู่มหาสติที่รู้ตัวทั่วพร้อมไม่ได้  เข้าถึงจิตที่รวมใหญ่ไม่ได้ จิตยังแยกตัวออกมาเป็นอิสระไม่ได้ มันก็ยังเป็นปัญญาทางโลกอยู่  ยังต้องอาศัยเหตุสมมุติทางปัญญาจากแหล่งอื่นๆ.........( สังขตธรรม )........  ยังใช้หลักเหตุผลนำทางอยู่  หาได้เกิดจากสติปัญญาโดยตรงจากจิตใจเอง   ถึงแม้นจะรู้ข้อธรรมมากมายจากภายนอกนั้น  มันก็เกิดจากการจดจำแล้วก็คิดด้วยหลักเหตุผลว่าเมื่อรู้แล้ว เข้าใจแล้วมันคงเป็นไปได้ตามที่รู้มานั้น     นั่นมันยังเป็นความคิดทั้งนั้น  จิตเขาไม่ได้ฮื้อไม่ได้อือออด้วย จิตมันยังไม่ได้เป็นไปตามสิ่งที่รู้นั้น  ยังไม่เกิดการกระทำที่มากพอจะทำให้เกิดผล   ผลมันยังไม่ได้เกิดการรู้เห็นเองที่จิตเลย   ผลของมันจริงๆสำหรับผู้ที่ปฏิบัติฝึกฝน มันจะถูกบันทึกแสดงอยู่ที่จิตเลย  ใครได้มโนสัมผัสจะกระทบรู้ทันที ว่าใครปฏิบัติมาหรือท่องจำมาจิตมันจะแสดงให้รู้หมด...................
 ...............จิตของผู้ที่ฝึกฝนดีแล้ว มีกำลังแล้วได้ฌาญได้ญาณมันจะรู้เลย  ว่าคนที่กำลังพูดหรือกำลังสื่อสารอยู่นั้น  เขาพูดออกมาจากจิตใจ.... ภาวนามยปัญญา....หรือจากการจดจำที่รู้มาท่องมาจากแหล่งอื่นๆ..สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา..........นี่คือผลของมัน   การรู้  การจำ มันเป็นสิ่งดีถ้านำสิ่งนั้นไปปฏิบัติเสียให้เข้าใจ ให้เข้าถึง ให้ผลมันแสดงออกมา    แต่คนส่วนใหญ่ชอบข้อธรรมที่มันสำเร็จรูปแล้ว  แค่เอามาท่อง มาจำ แล้วก็เอาไปพูดต่อได้ สอนคนอื่นๆได้ มันง่ายดี สะดวกสบาย ไม่ต้องมานั่งปฏิบัติฝึกฝนให้เสียเวลาให้ลำบาก .......... เมื่อเหตุมันเป็นดังนี้  ผลมันจึงไม่ส่งผลให้เกิดการลดละปล่อยวางที่จิต  สัญญาต่างๆจึงผูกมัดพันธนาการท่วมท้นอยู่ในจิตและยึดเอาไว้อย่างเหนียวแน่น  กลัวลืม กลัวจำไม่ได้  กลัวเสียหน้า  กลัวถูกลดคุณค่าบทบาททางสังคมและอีกสารพัดกลัวที่จิตใจมันไปยึดโยงอยู่  ซึ่งเกิดจากอวิชชาทั้งนั้น   ............ผู้ปฏิบัติฝึกฝน  ย่อมแจ้ง ในวิถีที่แสดงไปตามธรรมชาติของมัน   ว่างอยู่ในความมี.................ที่มา : ชมรมจิตสู่จิต 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น