วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

บอกเล่าสู่กันฟัง


กระบวนการฝึกสติ สมาธิและเจริญปัญญา
และวิธีทางแก้ไขปัญหาด้วยหลักอุเบกขาธรรม

วิธีการฝึกอุเบกขาธรรมในสภาวะต่าง ๆ ของผู้ฝึก

กระบวนการและวิธีการฝึกอุเบกขาธรรมในสภาวะต่าง ๆ ของข้าพเจ้าที่เกิดขึ้นในขอบข่ายที่กำหนดในชีวิตประจำวัน คือ การปฏิบัติงาน การศึกษาต่อ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวมารดา ชีวิตส่วนตัว โดยจัดระบบของอุเบกขาธรรมในความเข้าใจของข้าพเจ้า ดังนี้
อุเบกขาในเชิงความคิด คิดดี มองเห็นบุคคลและเหตุการณ์ตามจริง ไม่มีอคติและลำเอียงเมื่อจะพูดหรือกระทำการใดๆ มีประโยชน์ในทางรักษาศีลอุเบกขาในเชิงกำลังจิตจิตตั้งไว้ดี มีกำลัง มีความมั่นคงเจออารมณ์กระทบแรงๆแล้วดึงกลับเข้าที่ได้ง่ายต่างจากจิตที่ฟุ้งซ่านสัดส่ายมีประโยชน์ในทางพัฒนาสมาธิให้สูงและละเอียดยิ่งๆขึ้นอุเบกขาในเชิงพิจารณาเอาจิตจ่อกับสภาวธรรมเฉพาะหน้าในขอบเขตของกายใจ อารมณ์ ความนึกคิดมีประโยชน์ในทางเจริญปัญญาให้ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นกระทั่งหลุดเด็ดขาดจากอุปาทานทั้งปวงอุเบกขาในทุกขั้น ทุกระดับ ส่งเสริมกันและกันเป็นไปในทางเดียวกันเสมอ
การมองเห็นบุคคลและเหตุการณ์ตามจริง ไม่มีอคติและลำเอียงเมื่อจะพูดหรือกระทำการใดๆอุเบกขา นัยหนึ่ง คืออุเบกขาในเวทนา 5 ( สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา )หมายถึง ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ เป็นการเสวยอารมณ์ของจิต ไม่ใช่ความเป็นกลางในอารมณ์ของจิต อุเบกขาเวทนา นี้ จึงเป็นไปได้ทั้งขณะที่จิต กำลังเป็นกุศลหรือ อกุศล ( เช่นในขณะที่ใจกำลังฟุ้งซ่าน ) อุเบกขาเวทนานี้จัดอยู่ใน เวทนาขันธ์ องค์ธรรม คือ เวทนาเจตสิก
อุเบกขาอีกนัยหนึ่ง เช่น อุเบกขาพรหมวิหาร หรือ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นต้น นั้นจัดเข้าใน สังขารขันธ์ เป็นธรรมชาติที่ทำให้จิต และเจตสิก เป็นกลางในหน้าที่ของตน จะเกิดกับจิตที่เป็นกุศลเท่านั้นไม่เกิดกับจิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง ถ้ากล่าวโดยองค์ธรรม ก็คือ ตัตตระมัชฌัตตตาเจตสิก (อยู่ในกลุ่มโสภณสาธารณเจตสิก 19) อุเบกขาในความหมายอย่างหลังนี้ ในการปฎิบัติธรรม มีความสำคัญอย่างมาก เป็นธรรมที่ควรทำให้เจริญยิ่งๆขึ้น เพราะเป็นหนึ่งในองค์แห่งการตรัสรู้คือ โพชฌงค์ ซึ่งมีหลายท่านก็ได้กล่าวไว้มากมายแล้ว
เนื้อความของอุเบกขามีมากในพระไตรปิฏก มีกล่าวไว้ ประมาณ 1579 คำ ส่วนสภาวธรรมของอุเบกขา ต้องสังเกตด้วยตนเอง เพราะอุเบกขาเป็นธรรมของผู้ที่บรรลุธรรม อุเปกขูปวิจาร จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 11 มี 6 อย่าง ทีข้าพเจ้านำมาปฏิบัติ คือ
1. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
2.ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
3.ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
4.ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
5.ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
6.รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯ
อุเบกขาเวทนาเกิดได้เมื่อเรารู้สึกว่าไม่สุขไม่ทุกข์กับสิ่งต่างๆที่มากระทบ(ผัสสะ) ชึ่งเราจะเกิดความรู้สึกไม่สุขกับสิ่งต่างๆที่มากระทบได้ก็ต่อเมื่อเราไม่มีความอยากได้ในสิ่งนั้น(โลภะ) และเราจะเกิดความรู้สึกไม่ทุกข์กับสิ่งต่างๆที่มากระทบได้ก็ต่อเมื่อเราไม่มีความโกรธหรือความไม่พอใจในสิ่งนั้น เปรียบเหมือนการมองเห็นก้อนทอง (เราจะรู้สึกเป็นสุข ถ้าได้มา), ก้อนมูลอุจจาระ(เราจะรู้สึกเป็นทุกข์ถ้าได้มา), ก้อนหิน (เราจะรู้สึกเฉย ถ้าได้มา) ดังนั้นความเป็นอุเบกขาจะเกิดเมื่อเราตัดความโลภและความโกรธได้นั่นเอง และการที่เราจะตัดความโลภและความโกรธได้ก็ต้องรู้มูลเหตุของโลภะ และโทสะซึ่งจะต้องใช้คำสอนของพระพุทธองค์ที่มีในพระไตรปิฎกประกอบกับการทำวิปัสสนา


แหล่งข้อมูลอ้างอิง ที่มา
http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=1570.0
http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001407.htm









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น