วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2558

.................มนุษย์ส่วนใหญ่ชอบเพ่งโทษบุคคลอื่นๆ ลงความเห็นเปรียบเทียบ ว่าเขาเป็นอย่างนั้น อย่างนี้  เอาความชอบใจหรือความต้องการของตัวเองเป็นหลัก โดยที่ไม่ได้รู้เลยว่าตัวเองนั่นแหล่ะที่กำลังหลงอยู่  ถึงแม้นจะเป็นผู้ปฏิบัติธรรมก็ตาม สายไหนก็ตาม เมื่อสติ เมื่อปัญญา มันติด มันหลง มันก็วนอยู่ตรงนั้นแหล่ะไปไหนไม่ได้  ไม่ว่าใครจะทัดทานอย่างไรหรือชี้ทางบอกว่า มันติด มันหลงอยู่นะ ก็ไม่สนใจ ไม่เชื่อ  เพราะอิทธิพลแรงดึงดูดของกิเลส อวิชชา  มันมีมากกว่า  ความทะยานอยากแห่งตัวตนมันมีสูงกว่า......( ภวตัณหา )........ จะเป็นใครก็ช่าง  ถ้าปัญญามันเจริญไม่ได้  เข้าสู่มหาสติที่รู้ตัวทั่วพร้อมไม่ได้  เข้าถึงจิตที่รวมใหญ่ไม่ได้ จิตยังแยกตัวออกมาเป็นอิสระไม่ได้ มันก็ยังเป็นปัญญาทางโลกอยู่  ยังต้องอาศัยเหตุสมมุติทางปัญญาจากแหล่งอื่นๆ.........( สังขตธรรม )........  ยังใช้หลักเหตุผลนำทางอยู่  หาได้เกิดจากสติปัญญาโดยตรงจากจิตใจเอง   ถึงแม้นจะรู้ข้อธรรมมากมายจากภายนอกนั้น  มันก็เกิดจากการจดจำแล้วก็คิดด้วยหลักเหตุผลว่าเมื่อรู้แล้ว เข้าใจแล้วมันคงเป็นไปได้ตามที่รู้มานั้น     นั่นมันยังเป็นความคิดทั้งนั้น  จิตเขาไม่ได้ฮื้อไม่ได้อือออด้วย จิตมันยังไม่ได้เป็นไปตามสิ่งที่รู้นั้น  ยังไม่เกิดการกระทำที่มากพอจะทำให้เกิดผล   ผลมันยังไม่ได้เกิดการรู้เห็นเองที่จิตเลย   ผลของมันจริงๆสำหรับผู้ที่ปฏิบัติฝึกฝน มันจะถูกบันทึกแสดงอยู่ที่จิตเลย  ใครได้มโนสัมผัสจะกระทบรู้ทันที ว่าใครปฏิบัติมาหรือท่องจำมาจิตมันจะแสดงให้รู้หมด...................
 ...............จิตของผู้ที่ฝึกฝนดีแล้ว มีกำลังแล้วได้ฌาญได้ญาณมันจะรู้เลย  ว่าคนที่กำลังพูดหรือกำลังสื่อสารอยู่นั้น  เขาพูดออกมาจากจิตใจ.... ภาวนามยปัญญา....หรือจากการจดจำที่รู้มาท่องมาจากแหล่งอื่นๆ..สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา..........นี่คือผลของมัน   การรู้  การจำ มันเป็นสิ่งดีถ้านำสิ่งนั้นไปปฏิบัติเสียให้เข้าใจ ให้เข้าถึง ให้ผลมันแสดงออกมา    แต่คนส่วนใหญ่ชอบข้อธรรมที่มันสำเร็จรูปแล้ว  แค่เอามาท่อง มาจำ แล้วก็เอาไปพูดต่อได้ สอนคนอื่นๆได้ มันง่ายดี สะดวกสบาย ไม่ต้องมานั่งปฏิบัติฝึกฝนให้เสียเวลาให้ลำบาก .......... เมื่อเหตุมันเป็นดังนี้  ผลมันจึงไม่ส่งผลให้เกิดการลดละปล่อยวางที่จิต  สัญญาต่างๆจึงผูกมัดพันธนาการท่วมท้นอยู่ในจิตและยึดเอาไว้อย่างเหนียวแน่น  กลัวลืม กลัวจำไม่ได้  กลัวเสียหน้า  กลัวถูกลดคุณค่าบทบาททางสังคมและอีกสารพัดกลัวที่จิตใจมันไปยึดโยงอยู่  ซึ่งเกิดจากอวิชชาทั้งนั้น   ............ผู้ปฏิบัติฝึกฝน  ย่อมแจ้ง ในวิถีที่แสดงไปตามธรรมชาติของมัน   ว่างอยู่ในความมี.................ที่มา : ชมรมจิตสู่จิต 




วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

บอกเล่าสู่กันฟัง


กระบวนการฝึกสติ สมาธิและเจริญปัญญา
และวิธีทางแก้ไขปัญหาด้วยหลักอุเบกขาธรรม

วิธีการฝึกอุเบกขาธรรมในสภาวะต่าง ๆ ของผู้ฝึก

กระบวนการและวิธีการฝึกอุเบกขาธรรมในสภาวะต่าง ๆ ของข้าพเจ้าที่เกิดขึ้นในขอบข่ายที่กำหนดในชีวิตประจำวัน คือ การปฏิบัติงาน การศึกษาต่อ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวมารดา ชีวิตส่วนตัว โดยจัดระบบของอุเบกขาธรรมในความเข้าใจของข้าพเจ้า ดังนี้
อุเบกขาในเชิงความคิด คิดดี มองเห็นบุคคลและเหตุการณ์ตามจริง ไม่มีอคติและลำเอียงเมื่อจะพูดหรือกระทำการใดๆ มีประโยชน์ในทางรักษาศีลอุเบกขาในเชิงกำลังจิตจิตตั้งไว้ดี มีกำลัง มีความมั่นคงเจออารมณ์กระทบแรงๆแล้วดึงกลับเข้าที่ได้ง่ายต่างจากจิตที่ฟุ้งซ่านสัดส่ายมีประโยชน์ในทางพัฒนาสมาธิให้สูงและละเอียดยิ่งๆขึ้นอุเบกขาในเชิงพิจารณาเอาจิตจ่อกับสภาวธรรมเฉพาะหน้าในขอบเขตของกายใจ อารมณ์ ความนึกคิดมีประโยชน์ในทางเจริญปัญญาให้ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นกระทั่งหลุดเด็ดขาดจากอุปาทานทั้งปวงอุเบกขาในทุกขั้น ทุกระดับ ส่งเสริมกันและกันเป็นไปในทางเดียวกันเสมอ
การมองเห็นบุคคลและเหตุการณ์ตามจริง ไม่มีอคติและลำเอียงเมื่อจะพูดหรือกระทำการใดๆอุเบกขา นัยหนึ่ง คืออุเบกขาในเวทนา 5 ( สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา )หมายถึง ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ เป็นการเสวยอารมณ์ของจิต ไม่ใช่ความเป็นกลางในอารมณ์ของจิต อุเบกขาเวทนา นี้ จึงเป็นไปได้ทั้งขณะที่จิต กำลังเป็นกุศลหรือ อกุศล ( เช่นในขณะที่ใจกำลังฟุ้งซ่าน ) อุเบกขาเวทนานี้จัดอยู่ใน เวทนาขันธ์ องค์ธรรม คือ เวทนาเจตสิก
อุเบกขาอีกนัยหนึ่ง เช่น อุเบกขาพรหมวิหาร หรือ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นต้น นั้นจัดเข้าใน สังขารขันธ์ เป็นธรรมชาติที่ทำให้จิต และเจตสิก เป็นกลางในหน้าที่ของตน จะเกิดกับจิตที่เป็นกุศลเท่านั้นไม่เกิดกับจิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง ถ้ากล่าวโดยองค์ธรรม ก็คือ ตัตตระมัชฌัตตตาเจตสิก (อยู่ในกลุ่มโสภณสาธารณเจตสิก 19) อุเบกขาในความหมายอย่างหลังนี้ ในการปฎิบัติธรรม มีความสำคัญอย่างมาก เป็นธรรมที่ควรทำให้เจริญยิ่งๆขึ้น เพราะเป็นหนึ่งในองค์แห่งการตรัสรู้คือ โพชฌงค์ ซึ่งมีหลายท่านก็ได้กล่าวไว้มากมายแล้ว
เนื้อความของอุเบกขามีมากในพระไตรปิฏก มีกล่าวไว้ ประมาณ 1579 คำ ส่วนสภาวธรรมของอุเบกขา ต้องสังเกตด้วยตนเอง เพราะอุเบกขาเป็นธรรมของผู้ที่บรรลุธรรม อุเปกขูปวิจาร จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 11 มี 6 อย่าง ทีข้าพเจ้านำมาปฏิบัติ คือ
1. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
2.ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
3.ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
4.ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
5.ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
6.รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯ
อุเบกขาเวทนาเกิดได้เมื่อเรารู้สึกว่าไม่สุขไม่ทุกข์กับสิ่งต่างๆที่มากระทบ(ผัสสะ) ชึ่งเราจะเกิดความรู้สึกไม่สุขกับสิ่งต่างๆที่มากระทบได้ก็ต่อเมื่อเราไม่มีความอยากได้ในสิ่งนั้น(โลภะ) และเราจะเกิดความรู้สึกไม่ทุกข์กับสิ่งต่างๆที่มากระทบได้ก็ต่อเมื่อเราไม่มีความโกรธหรือความไม่พอใจในสิ่งนั้น เปรียบเหมือนการมองเห็นก้อนทอง (เราจะรู้สึกเป็นสุข ถ้าได้มา), ก้อนมูลอุจจาระ(เราจะรู้สึกเป็นทุกข์ถ้าได้มา), ก้อนหิน (เราจะรู้สึกเฉย ถ้าได้มา) ดังนั้นความเป็นอุเบกขาจะเกิดเมื่อเราตัดความโลภและความโกรธได้นั่นเอง และการที่เราจะตัดความโลภและความโกรธได้ก็ต้องรู้มูลเหตุของโลภะ และโทสะซึ่งจะต้องใช้คำสอนของพระพุทธองค์ที่มีในพระไตรปิฎกประกอบกับการทำวิปัสสนา


แหล่งข้อมูลอ้างอิง ที่มา
http://www.watkoh.com/forum/index.php?topic=1570.0
http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001407.htm